
บทความพิเศษ : Cyberbully กับ กรณี "ปั้นจั่น" โดย ดร.เวทิน ชาติกุล
Publish 2019-06-24 12:26:43
1. สิ่งที่ไม่อาจยอมได้เลยในกรณี.”ปั้นจั่น” ไม่ใช่ ประเด็นเรื่องความเห็นทางการเมือง แต่เป็นประเด็น Cyberbully
2. เหมือนกรณี “ไข่มุก BNK” ที่ไม่สามารถยอมให้มีกรณีแบบนี้เกิดขึ้นในสังคมได้
3. ตาม หลักเสรีภาพการแสดงออกแบบคลาสิก อันวางอยู่บนฐานคิดแบบเสรีนิยม คือ เห็นคุณค่าของความเป็นคนในมนุษย์ทุกคนทัดเทียมกัน ก็มิอาจยอมให้แสดงออกหรือแสดงความคิดเห็นได้ตามอำเภอใจ
4. “ทุกคนสามารถทำอะไรก็ได้ แสดงความเห็นอย่างไรก็ได้ ตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ทำอันตรายให้คนอื่น”
5. การกลั่นแกล้ง = การทำอันตรายต่อคนอื่น = การละเมิดหลักเสรีภาพ = การทำผิด(ทั้งกฏหมายและศีลธรรม)
6. กรณี “ไข่มุก BNK” โพสเรื่องของตนเอง. แต่โดนแอดมินเพจโรงหนังที่บ้าการเมืองเอามาขยายผลสนองอารมณ์คึกคะนองของตัวเองทั้งๆที่เรื่องมันไม่เกี่ยว ชัดเจนว่าเป็นการกลั่นแกล้ง ผิดตั้งแต่ต้นทาง ไม่ต้องพูดเรื่องที่มีการเอาไปขยายผลต่อในโซเซียล
7. ถามว่าทำไมถึงผิด? เพราะก็แค่ใครก็ไม่รู้แสดงความเห็น จะไปอะไรกันมากมาย ที่ผิดก็เพราะนอกจากร่วมกลั่นแกล้ง(=ร่วมทำร้าย)แล้ว สังคมจะยอมรับได้หรือไม่ที่จะยอมให้คนในสังคมทำผิดแล้วไม่ต้องมีความรับผิดชอบ(ไม่แม้ในระดับสามัญสำนึก) เพราะอ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นใคร หรือ ใช้ตัวตนที่อุปโลกน์ขึ้นมาในโลกไซเบอร์
8. สังคมที่สั่งสมผู้คนที่คิดว่าจะทำอะไรก็ได้ไม่ต้องรับผิดชอบ(เพราะใครไม่รู้ว่าเป็นกู)ให้เพิ่มจำนวนขึ้นจะเป็นสังคมแบบไหน ลองคิดดู
9. อาจมีคำถาม แต่ “ปั้นจั่น” แส่เอง เสือกแหลมเข้ามาในเรื่องการเมือง ที่สมควรโดนนะถูกแล้ว? ซวยไป คำตอบก็คือ Bully ไม่ใช่เรื่องความซวย ยิ่งเป็นเรื่องทางการเมือง ยิ่งไม่สามารถหาเหตุผลสนับสนุนให้เป็นเรื่องถูกต้องได้ ยิ่งกว่ากรณีที่ไม่ใช่เรื่องการเมือง
10. เพราะคนที่สนใจเรื่องการเมือง ไม่อาจปฏิเสธหลักการทางการเมืองของตนได้ และการไม่ปฏิบัติตามหลักการการเมืองที่ตนสมาทาน ถือเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผลยิ่งกว่า
11. ถ้าคุณอ้างเคารพหลักการประชาธิปไตย คุณก็ไม่สามารถยอมรับว่า “กฏหมู่” เป็นเรื่องที่ถูกได้
ถ้าคุณเชื่อว่า คนเท่ากัน คุณก็ไม่สามารถบอกว่า แต่มีบางคนเท่ากันมากกว่าคนอื่นได้
ยกเว้น คุณจะเป็นพวกตอแหล หรือ เป็นประชาธิปไตยจอมปลอม หรือ เสรีนิยมสามานย์ หรือหมูใน "แอนนิมอลฟาร์ม"
12. “ปั้นจั่น” อาจโพสต์ไม่เข้าหูฝ่ายประชาธิปไตย แต่สาระคำคัญของกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย ก็คือการ “อดกลั้น” “อดทน” ต่อความต่าง ไม่ใช่การใช้ “กฏหมู่” เพื่อรุมทำร้ายความต่างให้พินาศไป (นั่นไม่นับการสร้างข้อเท็จจริงครึ่งเดียว)
ทู บี แฟร์
13. กรณี “พรรณิการ์” ก็เช่นกัน ถ้าเป็น “ข้อเท็จจริง” ว่าพรรณิการ์ทำผิด การเปิดเผยด้วยหลักฐาน ข้อเท็จจริง การดำเนินการทางกฏหมาย ว่ากันไปตามข้อเท็จจริง (แค่นั้นก็ไม่รู้จะรอดอย่างไรแล้ว) ไม่นับว่านั่นย่อมเป็น “ทางเลือกที่ดีกว่า” การุมด่าด้วยความสะใจ หรือใช้ กฏหมู่ แบบพวกอันธพาลประชาธิปไตยที่ตัวเองด่า
14. นั่นไม่ต้องพูดถึง "การให้อภัย" ธรรมที่ทำได้ยาก ธรรมที่ในหลวง ร9 ท่านทรงทำมาทั้งชีวิต ธรรมที่คนที่รักและปกป้องสถาบันน้อยคนที่จะพูดถึงหรือทำได้
15. Cyberbully ผิดตั้งแต่
หนึ่ง ทำสิ่งที่ผิด(กลั่นแกล้ง)
สอง ร่วมขยายวงของความผิด
สาม ไม่ต้องสำนึกเรื่องแสดงความรับผิดชอบ
และ สี่ (สำหรับคนบ้าการเมือง) ไม่ยืนอยู่บนหลักการเมืองของตนอย่างแท้จริง
16. ทั้งหมดไม่มีข้อไหนที่ไม่ทำหรือแสดงออกมาโดยปราศจากเจตนา และสิ่งที่ทำโดยเจตนาไม่ใช่เรื่องบังเอิญ และสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องบังเอิญย่อมไม่ใช่ “ความซวย”
ผู้กำกับถ้ากล้าและมีจุดยืนต้องเปลี่ยนวิกฤติปั้นจั่นให้เป็นโอกาสที่สังคมจะลุกขึ้นมาต่อต้านพฤติกรรม. Cyberbully ไม่ใช้ก้มหน้ารับว่าเป็นความซวย
17. จะไปดูหนัง “ปั้นจั่น” หรือไม่ก็เป็นรสนิยมส่วนตัว แต่ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีจุดยืนทางการเมือง ไม่ว่าจะฝ่ายไหน ก็ยอมให้มี Cyberbully เกิดขึ้นไม่ได้ทั้งนั้น
18. สังคมจะนอกหรือในไซเบอร์ที่มัวแต่กลั่นแกล้งกัน คุยกันไม่ได้ ทำผิดอะไรก็ไม่ต้องรับผิดชอบ มีเหตุผลก็เหมือนไม่มี จินตนาการเอาเองว่าคนในสังคมแบบนั้นสุดท้ายจะลงเอยกันแบบไหน?อย่างไร?
ข่าวอื่นๆ ในเครือ
'ปั้นจั่น' โพสต์ขออโหสิกรรม
'ปั้นจั่น ปรมะ' โพสต์ขอลาอุปสมบท
ข่าวล่าสุด โดยสำนักข่าวทีนิวส์เรียบเรียงโดย